เมนู

อรรถกถาปฐมสันทิฏฐิกสูตรที่ 5


ปฐมสันทิฏฐิกสูตรที่ 5

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สนฺทิฏฐิโก แปลว่า อันบุคคลพึงเห็นเอง. บทว่า
นิพฺพานํ ได้แก่ ดับกิเลส. บทว่า ปรินิพพานํ เป็นไวพจน์ของบทว่า
นิพพานํ นั้น. บทว่า ตทงฺคนิพฺพานํ ได้แก่ นิพพานด้วยองค์นั้น
มีปฐมฌานเป็นต้น. บทว่า ทิฏฺฐธมฺมนิพฺพานํ ได้แก่ นิพพานใน
อัตภาพนี้นั่นเอง. คำที่เหลือในบททั้งหมดมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น
ด้วยประการฉะนี้.
จบ ปฐมสันทิฏฐิกสูตรที่ 5
จบ อรรถกถาวรรคที่ 10
จบ ทุติยปัณณาสก์

6. ทุติยสันทิฏฐิกสูตร


ว่าด้วยนิพพานที่ผู้บรรลุพึงเห็นเอง


[251] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิพพาน
อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ๆ ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไร
หนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิพพานอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง.
อา. ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
บรรลุปฐมฌาน ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระ-
ผูมีพระภาคเจ้าตรัสนิพพานอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ฯลฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญาย-
ตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะ
ทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูก่อนอาวุโส
โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิพพาน
อันบรรลุจะพึงเห็นเอง.
จบ ทุติยสันทิฏฐิกสูตรที่ 6